วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบประเมินค่ายคณิตศาสตร์


แบบประเมินการจัดกิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา
ตามโครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ตอนที่  1  ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบประเมิน
             คำชี้แจง  โปรดทำเครื่องหมายถูก  (ü)ลงใน  ¨ ที่ตรงกับความเป็นจริงเกี่ยวกับตัวท่าน
                   1.1  เพศ             ¨  ชาย                ¨  หญิง
                   1.2  สถานภาพ                 ¨  นักเรียน                                        ¨  ครู 
                                                                ¨  ผู้บริหารสถานศึกษา                  ¨  อื่น ๆ  (ระบุ) .......................
ตอนที่  2  การประเมินการจัดกิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา
             คำชี้แจง  โปรดพิจารณาข้อความในแต่ละข้อแล้วทำเครื่องหมายถูก  (ü)ลงในช่องที่ตรงกับระดับความคิดเห็นของท่าน
รายการ
ระดับความคิดเห็น
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
1.  อาคารสถานที่มีความเหมาะสมและเพียงพอ





2.  อาหารเพียงพอและมีคุณภาพ





3.  เวลาที่ใช้ในการเข้าค่ายมีความเหมาะสม





4.  สื่อและอุปกรณ์ในการจัดค่ายมีคุณภาพ  น่าสนใจและเพียงพอ





5.  วิทยากรมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้





6.  กิจกรรมนันทนาการจัดได้อย่างเพลิดเพลิน และเหมาะสม





7.  กิจกรรมทางวิชาการที่จัดขึ้นน่าสนใจและเข้าใจง่าย





8.  นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น





9.  นักเรียนชอบเรียนคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น





10.  การจัดค่ายคณิตศาสตร์ครั้งนี้มีความคุ้มค่าเพียงใด





ตอนที่  3  การประเมินการจัดกิจกรรมฐานฝึกทักษะและคิดเลขเร็วที่ดีที่สุด
             คำชี้แจง  โปรดทำเครื่องหมายถูก  (ü)ลงในช่อง ¨ ที่ตรงกับฐานฝึกทักษะที่จัดได้ดีที่สุด
¨  ฐานที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ                       ¨  ฐานที่ 2 การวัด
¨  ฐานที่ 3 เรขาคณิต                                                      ¨  ฐานที่  4  พีชคณิต
¨  ฐานที่  5  ความน่าจะเป็น                                        ¨  จัดกิจกรรมได้ดีพอ ๆ กัน
ตอนที่  4  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม






รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรม เดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี


รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรม
เดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี
โรงเรียนบ้านหัวหมู






ปีการศึกษา  2549
วันที่  8-9  กุมภาพันธ์  2550








คณะกรรมการฝ่ายติดตามและประเมินผล
การจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี
โรงเรียนบ้านหัวหมู  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2
รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรม
เดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี
โรงเรียนบ้านหัวหมู  ปีการศึกษา  2549
วันที่  8-9  กุมภาพันธ์  2550



โดย



คณะกรรมการฝ่ายติดตามและประเมินผล

นายชยานนต์  มนตรี                รองผู้อำนวยการโรงเรียน                     ประธานกรรมการ
นางทองก้อน  วิสัย                  ครูชำนาญการพิเศษ                             กรรมการ
นางมยุรี  นะราวัง                    ครูชำนาญการพิเศษ                             กรรมการ
นางบังอร  สมบัติ                    ครูชำนาญการพิเศษ                             กรรมการและเลขานุการ











การติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี
โรงเรียนบ้านหัวหมู  ปีการศึกษา  2549
วันที่  8-9  กุมภาพันธ์  2550
----------------------------------------------------------------------------------------------
1.  ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ
กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ที่ประชุมนานาชาติ    กรุงโคเปนเฮเกน  เมื่อปี  ค.ศ.  1924  ได้ลงมติว่า กระบวนการลูกเสือเป็นกระบวนการที่มีลักษณะสำคัญของชาติ  เป็นของกลางระหว่างประเทศ  และเป็นสากล  (สำนักงานคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ.  2526  :  11)
กระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาเห็นความสำคัญของกิจการลูกเสือ จึงได้ประกาศนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการต่อกิจการลูกเสือ ให้กิจกรรมลูกเสือเป็นกิจกรรมบังคับ นักเรียนทุกคนต้องเป็นลูกเสือ  เพราะลูกเสือสร้างคนให้มีระเบียบวินัย เสียสละ และบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น  ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่  3)  พ.ศ.  2528  คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งกาย  สติปัญญา  จิตใจและศีลธรรม  ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบในการสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า  เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติตามแนวทางดังต่อไปนี้
1.  ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟังและพึ่งตนเอง
2.  ให้ซื่อสัตย์สุจริต  มีระเบียบวินัย  และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
3.  ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
4.  ให้รู้จักทำการฝีมือ  และฝึกฝนให้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความเหมาะสม
5.  ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี  วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศชาติ ทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิการเมืองใดๆ


วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมฯ  มีดังนี้
                        1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัยในตนเอง และอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
                        2. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น
                        3. เพื่อวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี

2.  วัตถุประสงค์ของการติดตามและประเมินผลโครงการ
            เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารีโรงเรียนบ้านหัวหมู  ปีการศึกษา  2549  ตั้งแต่เตรียมการจัดกิจกรรมจนกระทั่งเสร็จสิ้นงาน แล้วสรุปผลการจัดกิจกรรม ข้อบกพร่องต่างๆ ตลอดจนแนวทางแก้ไขปรับปรุง และข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อเป็นข้อพิจารณาในการจัดกิจกรรมของโรงเรียนในปีต่อๆไป

3.  วิธีการติดตามและประเมินผล
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ 
1. ลูกเสือ เนตรนารี  สำรอง              จำนวน  20  คน           คิดเป็นร้อยละ  10
2. ลูกเสือ เนตรนารี สามัญ               จำนวน  30  คน           คิดเป็นร้อยละ  15
3. ลูกเสือ เนตรนารี สามัญรุ่นใหญ่   จำนวน  80  คน           คิดเป็นร้อยละ  40
4. บุคคลทั่วไปที่มาร่วมงาน                จำนวน  50  คน           คิดเป็นร้อยละ  25
5. คณะกรรมการดำเนินงาน                จำนวน  20  คน           คิดเป็นร้อยละ  10
การติดตามและประเมินผลครั้งนี้ได้ใช้แบบประเมินเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล  จำนวน  2  ชุด  ดังนี้
แบบประเมินชุดที่  1  เป็นแบบสอบถามสำหรับให้คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เป็นผู้ตอบ
แบบประเมินชุดที่  2  เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของลูกเสือ-เนตรนารี และผู้มาร่วมงาน

            จากแบบประเมินดังกล่าว  ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ในประเด็นต่อไปนี้
1.  สอบถามความคิดเห็นของจำนวนลูกเสือ-เนตรนารี  และผู้เข้าร่วม
2.  ถ่ายภาพกิจกรรมต่างๆ ไว้เป็นหลักฐานประกอบการประเมิน
3.  สอบถามความคิดเห็นคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ผลการจัดกิจกรรม  ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไข
      นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ แปลผลเขียนรายงาน เสนอผลการประเมินแบ่งเป็น  2  ส่วน  ดังนี้
                  ส่วนที่  1  การประเมินโครงการจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี  ตามทัศนะของคณะกรรมการดำเนินงาน
                  ส่วนที่  2  ผลการประเมินโครงการจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี  ตามทัศนะของลูกเสือ-เนตรนารี และบุคคลทั่วไป
      กรณีที่ข้อมูลเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  จะหาค่าเฉลี่ยแล้วนำไปเทียบกับเกณฑ์การแปลความหมาย ดังนี้
                  ค่าเฉลี่ย            4.51-5.00         แปลความว่า                ดีมากที่สุด
                  ค่าเฉลี่ย            3.51-4.50         แปลความว่า                มาก
                  ค่าเฉลี่ย            2.51-3.50         แปลความว่า                ปานกลาง
                  ค่าเฉลี่ย            1.51-2.50         แปลความว่า                น้อย
                  ค่าเฉลี่ย            1.00-1.50         แปลความว่า                น้อยที่สุด

4. ผลการติดตามและประเมินผล
      4.1  การประเมินโครงการจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี  ตามทัศนะของคณะกรรมการดำเนินงาน
            4.1.1  การประเมินการดำเนินงานใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแนวคิดของลิเคอร์ท (Likert’s) จำนวน  15  ข้อ  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล  ปรากฏดังตาราง  1



ตาราง  1  ผลการประเมินการจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรรี ตามทัศนะของคณะกรรมการดำเนินงาน

รายการประเมิน
ผลการประเมิน
ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ความเหมาะสม
1. การประชาสัมพันธ์
4.25
0.85
มาก
2. ระบบการเตรียมงาน
4.51
0.87
มากที่สุด
3. การกำหนดดำเนินกิจกรรม
4.29
0.80
มาก
4. การมอบหมายงานตามถนัดหรือความสนใจ
3.90
0.65
มาก
5. งบประมาณพอเหมาะ
3.87
0.87
มาก
6. กรรมการในฝ่ายของท่านมีจำนวนพอเหมาะ
4.41
0.75
มาก
7. ฝ่ายของท่านร่วมมือกันทำงาน
4.05
0.84
มาก
8. การประสานงานระหว่างฝ่าย
4.00
0.78
มาก
9. ความพึงพอใจต่อผลงานในฝ่ายของท่าน
3.67
0.87
มาก
10. ความสัมพันธ์ที่มีต่อเพื่อนร่วมงาน
4.32
0.87
มาก
11. โอกาสในการแสดงความสามารถของท่าน
3.95
0.87
มาก
12. ความภาคภูมิใจในผลงานที่ได้ปฏิบัติ
4.11
0.51
มาก
13. การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน
4.67
0.55
มากที่สุด
14. การส่งเสริมวินัย และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
4.87
0.45
มากที่สุด
15. นักเรียนมีทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
4.84
0.33
มากที่สุด

จากตาราง  1  แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการดำเนินงานเห็นว่าการปฏิบัติงานด้าน การส่งเสริมวินัยและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น นักเรียนมีทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน และระบบการเตรียมงาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ  มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย  4.87,  4.84,  4.67  และ  4.51  ตามลำดับ ส่วนด้านอื่นๆ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก
4.1.2 การสอบถามความคิดเห็นในเรื่องทั่วๆ ไป มีดังนี้
                        (1) การเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี ปีนี้กับปีที่ผ่านมา ผลปรากฏดังตาราง  2


ตาราง  2  การเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี ปีนี้กับปีที่ผ่านมา ตามทัศนะของคณะกรรมการดำเนินงาน
การเปรียบเทียบ
ความถี่
ร้อยละ
ปีนี้จัดได้ดีกว่าปีที่ผ่านมา
8
40.00
ปีนี้กับปีที่ผ่านมากพอๆกัน
6
30.00
ปีนี้ด้อยกว่าปีที่ผ่านมา
2
10.00
ไม่สามารถตัดสินได้
4
20.00

            จากตาราง  2  แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการดำเนินงานมีความคิดเห็นว่า การจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี ปีนี้จัดได้ดีกว่าปีที่ผ่านมา  (ร้อยละ  40.00)
                  (2) ปัญหาและข้อเสนอแนะ
                        จากการสอบถามปัญหาและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการดำเนินงาน โดยใช้แบบสอบถามปลายเปิด เมื่อนำมาสังเคราะห์เป็นข้อความที่น่าสนใจ สรุปได้ดังนี้
1.            การเดินทางไกลควรให้ลูกเสือ-เนตรนารีได้ใช้วิชาเชิงพราน ในการผ่านความยากลำบากมากกว่านี้
2.            ไม่มีงบประมาณเข้าค่ายตามแบบสากล หรือค่ายใหญ่ๆ เพื่อให้ลูกเสือได้ประสบการณ์มากกว่านี้ ควรเพิ่มงบประมาณ
3.            อยากให้มีการปรึกษาหารือร่วมกันให้ชัดเจนและร่วมงานกันทั่วถึงทุกคน

      4.2  ผลการประเมินโครงการจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี  ตามทัศนะของลูกเสือ-เนตรนารี และบุคคลทั่วไป
            4.2.1  การประเมินการจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม ตามทัศนะของลูกเสือ-เนตรนารี และบุคคลทั่วไป  ดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแนวคิดของลิเคอร์ท (Likert’s) จำนวน  15  ข้อ 
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล  ปรากฏดังตาราง  3

ตาราง  3  ผลการประเมินการจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรรี ตามทัศนะของลูกเสือ-เนตรนารี และบุคคลทั่วไป
รายการประเมิน
ผลการประเมิน
ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ความเหมาะสม
1. การเตรียมความพร้อมและฝึกซ้อม
4.23
0.70
มาก
2. การจัดกิจกรรมตรงกับความต้องการของท่าน
4.23
0.64
มาก
3. ความเหมาะสมของสถานที่
4.07
0.86
มาก
4. ความเหมาะสมของวันและระยะเวลา
4.05
0.97
มาก
5. ความเหมาะสมของระบบเสียง
4.18
0.87
มาก
6. ระบบรักษาความปลอดภัยมีความเหมาะสม
4.34
0.71
มาก
7. ความรู้ที่ได้จากฐานเดินทางไกล
4.38
0.78
มาก
8. การจัดประสบการณ์ฐานผจญภัย
4.37
0.72
มาก
9. วิทยากรประจำฐานมีความเหมาะสม
4.40
0.78
มาก
10. ท่านสนุกสนานกับกิจกรรมนี้
4.25
0.94
มาก
11. กิจกรรมนี้ทำให้นักเรียนมีความอดทน
4.16
0.88
มาก
12. กิจกรรมนี้ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
4.01
0.96
มาก
13. กิจกรรมนี้ทำให้นักเรียนมีระเบียบวินัย
4.40
0.76
มาก
14. นักเรียนได้ใช้ทักษะการแก้ไขปัญหา
4.14
0.71
มาก
15. การเล่นรอบกองไฟมีความเหมาะสม
4.29
0.94
มาก
รวม
4.23
0.13
มาก

จากตาราง  3  แสดงให้เห็นว่าลูกเสือ-เนตรนารี และบุคคลทั่วไป เห็นว่าการจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี ปีการศึกษา  2549  โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย  4.23)
4.1.2 การสอบถามความคิดเห็นในเรื่องทั่วๆ ไป มีดังนี้
                        (1) การเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี ปีนี้กับปีที่ผ่านมา ผลปรากฏดังตาราง  4




ตาราง  4  การเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-
เนตรนารี ปีนี้กับปีที่ผ่านมา ตามทัศนะของลูกเสือ-เนตรนารีและบุคคลทั่วไป
การเปรียบเทียบ
ความถี่
ร้อยละ
ปีนี้จัดได้ดีกว่าปีที่ผ่านมา
81
45.00
ปีนี้กับปีที่ผ่านมากพอๆกัน
32
17.78
ปีนี้ด้อยกว่าปีที่ผ่านมา
27
15.00
ไม่สามารถตัดสินได้
40
22.22

            จากตาราง  4  แสดงให้เห็นว่า ลูกเสือ-เนตรนารี และบุคคลทั่วไป มีความคิดเห็นว่า การจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี ปีนี้จัดได้ดีกว่าปีที่ผ่านมา  (ร้อยละ  45.00)
                  (2) ฐานที่นักเรียนชอบที่สุด
                        การสอบถามฐานที่นักเรียนชอบที่สุด ใช้แบบสอบถามปลายเปิด แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นข้อความที่น่าสนใจ สรุปเรียงตามลำดับความถี่มากไปหาน้อย  ได้ดังนี้
1.  ฐานไหมหาสมบัติ                         18  คน
2.  ฐานเสาลงหลุม                              12  คน
3.  ฐานสกีบก                                     9  คน
4.  ฐานคอมมานโด                             7  คน
5.  ฐานทะเลโคลน                             5  คน
6.  ฐานทรงตัว                                                3  คน
7.  ฐานกำแพงเบอร์ลิน                       2  คน
8.  ฐานอุโมงค์                                                2  คน
9.  ฐานสะพานเชือก                           2  คน
10.  ฐานคำปฏิญาณ                              2  คน
11.  ฐานผูกเงื่อน                                   1  คน
12.  ฐานถ่อแพข้ามฟาก                        1  คน

                  (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ
                        จากการสอบถามปัญหาและข้อเสนอแนะของลูกเสือ-เนตรนารีและบุคคลทั่วไป โดยใช้แบบสอบถามปลายเปิด เมื่อนำมาสังเคราะห์เป็นข้อความที่น่าสนใจ สรุปเรียงตามลำดับความถี่มากไปหาน้อย  ได้ดังนี้
13.  ควรเปิดเพลงให้นักเรียนเต้นให้มากกว่านี้                         7   คน
14.  น้ำอาบและน้ำใช้ไม่เพียงพอ                                              7   คน
15.  ควรมีการรักษาความปลอดภัยให้เพิ่มขึ้น                          4  คน
16.  ควรมีฐานให้มากกว่านี้                                                      3  คน
17.  ควรมีเวลาพักผ่อนเพิ่มขึ้น                                                 2  คน
18.  แสงสว่างไม่เพียงพอ                                                         2  คน
19.  ควรใช้เวลาให้กระชับเพิ่มขึ้นให้ครูดูแลทั่วถึง                  1  คน
20.  ไม่ควรให้มีการจัดเลี้ยง เพราะครูไม่มีเวลาดูแลนักเรียน   1  คน